สุขศึกษา


โครงงานสุขภาพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เรื่อง   วุ้นผลไม้เพื่อสุขภาพ
คณะผู้จัดทำ
1. เด็กหญิง  ธัญญารัตน์ สีหานาม
2. เด็กหญิง  นครินทร์   ทับทิมหิน
3. เด็กชาย   วันปิยะ     พลธานี
4. เด็กหญิง  ศิริลักษณ์   คำผาลา
5. เด็กหญิง  กฤษณา     วงศ์กัญญา
6. เด็กหญิง  ชมพูนุท   แจ้งจรัส
7. เด็กหญิง  อินทิราภรณ์ ภูมิบุญชู

ครูที่ปรึกษา   นางลาวัณย์ นพพิบูลย์
สถานที่ศึกษา            โรงเรียนอำนาจเจริญ ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
                          



บทคัดย่อ
            วุ้นผลไม้ถือว่ามีความสำคัญในการช่วยรักษาสุขภาพทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและยังได้วิตามินต่างๆจากผลไม้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจศึกษาเรื่อง วุ้นผลไม้เพื่อสุขภาพ ที่ใช้ในการดูแลสุขภาพโดยทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวุ้นผลไม้เพื่อสุขภาพ




วิธีดำเนินงาน
    การทำโครงงานสุขศึกษา เรื่อง วุ้นผลไม้เพื่อสุขภาพ ในปีการศึกษา  2554 คณะผู้จัดทำได้วางแผนร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อสรุปผลและกำหนดแหล่งคนคว้า มีการมอบหมายงานให้ทุกคนในกลุ่ม ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงงานดังนี้
   1. วิธีดำเนินงาน
                        1.1 ประชุมวางแผน
                        1.2 รวบรวมข้อมูล
                        1.3 ปฏิบัติตามแผน
                        1.4 สรุปผลรายงาน
                        1.5 ปรับปรุงพัฒนา


วัน/เดือน/ปี


กิจกรรม/งาน

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ
24 สิงหาคม 2554
ประชุมวางแผน
สมาชิกในกลุ่ม

25 สิงหาคม 2554
รวบรวมข้อมูล
สมาชิกในกลุ่ม

26 สิงหาคม 2554
ปฏิบัติตามแผน
สมาชิกในกลุ่ม

27 สิงหาคม 2554
สรุปผลรายงาน
สมาชิกในกลุ่ม

28 สิงหาคม 2554
ปรับปรุงพัฒนา
สมาชิกในกลุ่ม






สรุปผลการศึกษา
         
            จากการที่ผู้จัดทำทดลองและศึกษาเกี่ยวกับ วุ้นผลไม้เพื่อสุขภาพ เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากสามารถทำได้ทุกคน ทุกเพศทุกวัยตามความเหมาะสมและจำนวนที่ร่างกายควรจะได้รับในแต่ละวันซึ่งผลไม้และวิตามินมีความสำคัญมากต่อร่างกาย ถ้าเราเลือกที่จะรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ ร่างกายก็จะได้รับวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อไปช่วยในการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.    เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่ดี
2.    มีภูมิต้านทานโรคที่ดีขึ้น
3.    ได้รับวิตามินจากผลไม้

ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
1.    ปัญหา ยังขาดประสบการณ์ความรู้เรื่องผลไม้และวิตามินจึงทำออกมาได้ไม่ดีนัก
2.    แนวทางแก้ไข ศึกษาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องของผลไม้และวิตามินในผลไม้
3.    ข้อเสนอแนะในการทำโครงงานครั้งต่อไป ควรมีการทำโครงงานในกรณีศึกษารูปแบบต่างๆของผลไม้และวิตามินต่างๆในผลไม้หลายๆชนิด