ภาษาไทย



           คำไวพจน์ 
 ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  หมายถึง  คำที่เขียนต่างกันหรือใกล้เคียงกันมาก  เช่น  มนุษย์กับคน  รอบกับคอบ  ป่ากับดง  และยังหมายถึงคำพ้องความ  ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  หมายถึง  คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน  เช่น  ใสกับไส  โจทกับโจทย์  พานกับพาล  ซึ่งปัจจุบัน  เรียกว่า  คำพ้องเสียง  แต่คำไวพจน์ในที่นี้จะกล่าวถึงคำไวพจน์ในความหมายแรก  คือ  คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันเท่านั้น



หลักการใช้คำไวพจน์

          ๑.  คำไวพจน์เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน   จึงสามารถเลือกใช้คำแทนกัน  เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซาก  เช่น

                      ลิง           กบี่            วานร        พานรินทร์   วานเรศ

                      ช้าง          คช            คชสาร     หัสดิน          หัตถี         ไอยรา

         ๒.  คำไวพจน์มักใช้ในการแต่งคำประพันธ์    ซึ่งเป็นการสรรคำใช้อย่างหลากหลาย  เมื่อไม่ต้องการเล่นคำ

         ๓.  ต้องระมัดระวังการนำคำไวพจน์มาใช้    บางคำต้องคำนึงถึงระดับของภาษา  และการใช้ราชาศัพท์  เช่น  คำว่า  “ ตาย ”


fredw


นอกจากนี้  คำว่า  “ตาย”  ยังมีคำใช้ในการแต่งบทประพันธ์อย่างหลากหลาย  เช่น  สิ้นบุญ  สิ้นลม  สิ้นชีพ  สิ้นชีวา  สิ้นสังขาร  สิ้นวิญญาณ์  วายชนม์  วายปราณ   วายวาง  วายชีวา  วายสังขาร  วายวิญญาณ์  เป็นต้น


wscde